จากกรณีนายนิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิด เสียชีวิตในวัย 83 ปีโดยนายนิธิ เป็นที่รู้จักในฐานะนักคิด นักเขียน และศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ชาวไทย ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นจากสภาวิจัยแห่งชาติ, รางวัลฟูกูโอกะ และรางวัลศรีบูรพา

ทั้งนี้นายนิธิ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2483 ที่เชียงใหม่ ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาลัย! "นิธิ เอียวศรีวงศ์" นักคิด-นักเขียนด้านประวัติศาสตร์ เสียชีวิต

อาลัย “ภาคินัย กสิรักษ์” นักเขียนนิยายสยองขวัญเสียชีวิตอย่างสงบ คำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่

หลังจบการศึกษา นายนิธิ เข้ารับราชการในตำแหน่งอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้ลาไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และสำเร็จการศึกษาในปี 2519 กลับมารับราชการตามเดิม จนได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ ก่อนเข้าโครงการลาเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในปี 2543

หลังจากนั้น นายนิธิ ยังคงเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแสดงความคิดสู่สังคมผ่านมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และผ่านรูปแบบบทความทางหนังสือพิมพ์ นิตยสารอยู่เป็นประจำ ในการลงประชามติรับร่างธรรมนูญปี 2550 นายนิธิยังเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว

การทำงานในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ

นายนิธิ ได้เข้ามารับหน้าที่เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงปี 2553 ยุติลง ในช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2553 โดยทำหน้าที่ยกร่างแผนปฏิบัติการที่สามารถนำไปปฏิบัติแก้ไขปัญหาความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคณะกรรมการ จำนวน 19 คน ทำงานคู่ขนานไปกับคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ และในปี 2559 นายนิธิได้เขียนบทความ “ทหารมีไว้ทำไม” จนกลายมาเป็นต้นแบบวลี “มีทหารไว้ทำไม” ที่มักจะมีการนำมาใช้เวลามีการตรวจสอบกองทัพ

ผลงาน หนังสือ/บทความ

นายนิธิ มีผลงานหนังสือ อาทิ อิสลามสมัยแรก (2511), ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก (2521), การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ (2523), ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา (2523), วัฒนธรรมกระฎุมพีกับวรรณกรรมต้นรัตนโกสินทร์ (2525),หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย (2521) ,สุนทรภู่ : มหากวีกระฎุมพี (2528), ลัทธิพิธีเสด็จพ่อ ร.5 (2536), วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย (2536)การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2543) เป็นต้น

นอกจากนั้นยังมีผลงานประเภทรวมบทความ อาทิ เชิงอรรถสังคมไทยในสายตานักวิเคราะห์ (2532), กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย : ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ (2538), ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์ : ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ และรูปการจิตสำนึก (2538), สังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง (2539), ยุคสมัยไม่เชื่ออย่าลบหลู่ (2541), วัฒนธรรมความจน (2541), วัฒนธรรมคนอย่างทักษิณ (2549), รากหญ้าสร้างบ้าน ชนชั้นกลางสร้างเมือง (2552), ความไม่ไทยของคนไทย (2559) เป้นต้น

วิทยานิพนธ์

นายนิธิ มีผลงานวิทยานิพนธ์ อาทิ การปราบฮ่อและการเสียดินแดน พ.ศ. 2431 (Suppression of the Haw uprisings and loss of Thai territories in 1888) (วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2509) และ Fiction as history : a study of pre-war Indonesian novels and novelists (1920-1942) (Thesis (Ph.D.) University of Michigan, 1976) (2519)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)

พ.ศ. 2534 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)